
ใช้เวลานานกว่า 5 ปี นับจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าบริหารประเทศ
การศึกษา และแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) เมื่อปี 2560 เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนงานปฏิรูปการศึกษา ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศ ภารกิจหลัก คือการยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. … ฉบับใหม่ แทน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อใช้มาระยะหนึ่ง พบว่ามีข้อเสียจำนวนมา ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่นี้ ผ่านการรับฟังความคิดเห็น และปรับแก้หลายครั้ง ใช้งบประมาณในการยกร่างกว่า 1 พันล้านบาท กว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อถกเถียง และคัดค้าน โดยเฉพาะกลุ่มเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย (ค.อ.ท.) และสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนเสียงเรียกร้องของครูทั้งประเทศ คัดค้าน กฎหมายฉบับนี้ เพราะมองว่าลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน สร้างความเหลื่อมล้ำให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา และเรียกร้องให้ถอนร่างดังกล่าวออกไปก่อน ถึงขั้นระดมพลแต่งดำ ใช้เกมการเมือง ข่มขู่จะไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับพรรคที่ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยไม่แก้ไขให้เป็นไปตามความเห็นของครูกลุ่มดังกล่าว รวมถึง จะสนับสนุนพรรคที่พร้อมแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในรัฐบาลต่อไป สำหรับมาตราที่เรียกร้องให้แก้ไข อาทิ มาตรา 40 วรรค 2 ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนวิทยฐานะ ทำให้บุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาจะไม่ได้รับเงินวิทยฐานะ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) รองผู้อำนวยการ สพท.และศึกษานิเทศน์ ทำให้ค้างคาใจ เนื่องจากเป็นสิทธิที่เคยได้รับมาก่อน แต่ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ไม่แก้ไขให้กลับมาเหมือนเดิม อีกทั้งไม่รับฟังเสียงท้วงติงจากครูในเรื่องนี้ มาตรา 42 เกี่ยวกับคำสั่ง คสช.เป็นการออกแบบสภาวิชาชีพครูใหม่ เดิมคุรุสภาเป็นสภาวิชาชีพ แต่เปลี่ยนใหม่ให้คุรุสภาเป็นองค์กรของครู เมื่อกฎหมายแม่ออกมาแบบนี้ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ตกไป และมาตรา 106 ว่าด้วยการให้อำนาจ รัฐมนตรี และปลัด ศธ.เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการ ศธ.หมายความว่า จะใช้ระบบการสั่งการจากบนลงล่าง หรือ ซิงเกิลคอมมานด์ย้อนแย้งกับโลกความจริงที่เปลี่ยนแปลงไปมากหลังวิกฤตโควิด-19 ขณะที่ฝั่งเห็นด้วย อยากเร่งคลอดร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยมองว่า ข้อบกพร่องอื่นๆ ปรับแก้ได้ในขั้นตอนต่อไป
บางเรื่องรัฐมนตรีว่าการ ศธ.และปลัด ศธ.สามารถออกประกาศ เพื่อบังคับใช้ หรือกำหนดรายละเอียดไว้ในกฎหมายลูก ดีกว่าปล่อยให้แท้ง!!
แล้วไปประกอบร่างใหม่ในรัฐบาลถัดไป ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกกี่ปี กว่าจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาใหม่ ข่าวการศึกษา ฝ่ายสนับสนุน อย่างสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่าย มองที่ประโยชน์ส่วนรวม ซึ่ง ข้อดี ของกฎหมายฉบับนี้มีอยู่มาก อาทิ ในมาตรา 8 กำหนดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาให้เหมาะสมตามช่วงวัย เกิดคุณภาพกับผู้เรียน มาตรา 11 วรรค 5 กำหนดให้รัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาตามมาตรา 22-30 มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล หรือกลุ่มนิติบุคคล มาตรา 42, 108 ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการดูแลเรื่องค่าตอบแทน และวิทยฐานะ รวมถึง ยังกำหนดให้มีสถาบันพัฒนาหลักสูตร เพื่อพัฒนาหลักสูตรแกนกลาง มีกองทุนครูของแผ่นดิน สนับสนุนส่งเสริมครูให้ทำงานได้เต็มที่ มีกองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สนับสนุนการเรียนการสอนยุคใหม่ ที่ต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียน และชุมชน มีคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ กำหนดการนโยบายการศึกษาของชาติที่สำคัญ ศธ.มี เอกภาพ ในการจัดการศึกษามากขึ้น จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงาน โดยเฉพาะการ กระจายอำนาจ การจัดการศึกษาไปยังโรงเรียน ทั้งเรื่องการคัดเลือกบุคลากร งบประมาณ และแนวทางการจัดการเรียนการสอน รวมถึงงบที่จะส่งตรงถึงโรงเรียนโดยตรง ซึ่งต้องยอมรับว่า การจัดการศึกษาที่ผ่านมา มีความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรงบที่ขาดประสิทธิภาพ เพราะสายการบังคับบัญชาค่อนข้างยาว ดังนั้น การกระจายอำนาจ จัดสรรงบลงไปที่โรงเรียนโดยตรง จะทำให้การพัฒนาการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากโรงเรียนมีคุณภาพใกล้เคียงกันแล้ว เด็กจะไม่มากระจุกตัวอยู่ในเมือง ขณะที่ นายศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) ระบุว่า ได้ติดตามการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติอย่างใกล้ชิดเพราะโรงเรียนเอกชนกังวลว่ากฎหมายฉบับนี้ จะประกาศใช้ไม่ทันภายในรัฐบาลชุดนี้ แต่ก็ยังมีข้อกังวลในเรื่องสิทธิของเด็ก ซึ่งมีกำหนดไว้ในกฎหมาย แต่ไม่มีการระบุแนวปฏิบัติที่ชัดเจน จึงกังวลว่า เมื่อ พ.ร.บ.ฉบับใหม่ประกาศใช้แล้ว สิทธิของเด็กไทยจะเท่าเทียมกันหรือไม่ “ที่ผ่านมา โรงเรียนเอกชนประสบปัญหาเรื่องนี้มาตลอด เช่น ค่าอาหารกลางวันนักเรียนโรงเรียนรัฐ และเอกชน ไม่ได้รับการอุดหนุนที่เท่าเทียม โรงเรียนรัฐได้รับอุดหนุน 100% ขณะที่โรงเรียนเอกชนได้รับอุดหนุนเพียง 28% ขณะที่ครูเอกชน ได้รับสิทธิ และสวัสดิการน้อยกว่าครูโรงเรียนรัฐ เป็นความไม่เท่าเทียมที่โรงเรียนเอกชนเรียกร้องมาตลอด คิดว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ควรกำหนดสิทธิของเด็ก และครูให้ชัดเจน ให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ไม่ควรแบ่งแยก รัฐ หรือเอกชน หากไม่กำหนดให้ชัดเจน และให้ไปใส่ไว้ในกฎหมายลูก เชื่อว่าสุดท้ายแล้วเด็กไทยกลุ่มหนึ่ง ที่แม้จะเรียนในประเทศ แต่เรียนโรงเรียนเอกชน จะถูกมองข้ามเหมือนเดิม
แนะนำข่าวการศึกษา อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ‘ชัยพล’ ประกาศนโยบายใหม่ พลิกโฉมกรมศาสนาชูนโยบาย ‘9 ดี 12 เดือน 12 เด่น