19 มีนาคม 2024
กรมวิทย์ฯ เผย โควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลานกลายเป็นสายพันธุ์หลัก

กรมวิทย์ฯ เผย โควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลานกลายเป็นสายพันธุ์หลัก ย้ำวัคซีนเข็มกระตุ้น ลดโอกาสติดเชื้อและความรุนแรงได้

กรมวิทย์ฯ เผย โควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลานกลายเป็นสายพันธุ์หลัก

สุขภาพ สายพันธุ์ BA.2.75 กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทยจากผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อก่อโรคโควิด-19 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2565) โดยการตรวจแบบ SNP/Deletion จำนวน 435 ราย พบว่า ในภาพรวม สัดส่วนของสายพันธุ์ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 75.9% จากสัปดาห์ก่อน ที่มีสัดส่วน 58.9% และเมื่อแยกตามกลุ่ม พบว่า ในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 60.1% เป็น 75.4% ทำให้ขณะนี้ สายพันธุ์ BA.2.75 กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศแทนที่สายพันธุ์ BA.5 การผสมของโอมิครอน และเดลต้า ในประเทศไทย มีโอกาสน้อยมากปัจจุบัน สายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ไม่พบสายพันธุ์เดลตาแล้ว จึงมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดการผสมกันเป็นสายพันธุ์ลูกผสมของเดลตาและโอมิครอนขึ้นภายในประเทศ และหากไม่พบว่าแพร่ได้เร็ว ก็จะหายไปในที่สุด การกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ BA.2.75 สำหรับสายพันธุ์ BA.2.75 มีการกลายพันธุ์อย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ G446S บนโปรตีนหนาม ซึ่งจับกับตัวรับในเซลล์ของมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับการหลบภูมิคุ้มกัน สถานการณ์ในประเทศที่มีสัดส่วนของสายพันธุ์ BA.2.75 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่ BA.5 เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้พบผู้ติดเชื้อในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ และทำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้า สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก แต่ทั้งนี้ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรง ข่าวสุขภาพ ของเชื้อที่กลายพันธุ์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะ วัคซีนเข็มกระตุ้นยังจำเป็น การปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ รวมถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังจำเป็น โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน ควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อและความรุนแรงเมื่อมีการติดเชื้อ