19 เมษายน 2024
นักวิเคราะห์เชื่อ BOJ ขยายกรอบบอนด์ยีลด์ปูทางขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า

นักวิเคราะห์หลายราย ซึ่งรวมถึงนายมาซามิชิ อาดาชิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นจากบริษัทยูบีเอส ซิเคียวริตีส์และอดีตเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า การที่นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ สร้างปรากฏการณ์ช็อกตลาดด้วยการขยายกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรนั้น เป็นการส่งสัญญาณให้นัก

เศรษฐศาสตร์ ลงทุนทราบว่า BOJ มีแผนที่จะยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultra-loose Monetary Policy) ในการประชุมเมื่อวานนี้ (20 ธ.ค.) คณะกรรมการ BOJ ได้ตัดสินใจขยายกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีให้เคลื่อนไหวในช่วง -0.5% ถึง +0.5% จากเดิมที่อยู่ในกรอบ -0.25% ถึง +0.25% แม้ว่านายคุโรดะออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงกลไกตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและยังเร็วเกินไปที่ BOJ จะหารือกันเกี่ยวกับการถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน แต่นักวิเคราะห์ก็ยังต้องรอดูว่า การใช้กลยุทธ์ดังกล่าวของ BOJ อาจจะเป็นการซื้อเวลาก่อนที่นายคุโรดะจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งที่ดำเนินมา 10 ปีในเดือนเม.ย.ปีหน้า หรือจะเป็นจุดเริ่มต้นของการยุติมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนในเวลานี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของ BOJ จะทำให้ตลาดทั่วโลกจับตาท่าทีของ BOJ อย่างใกล้ชิดในช่วงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนข้างหน้า เรามองว่า “การดำเนินการของ BOJ ในการประชุมครั้งนี้ถือเป็นย่างก้าวที่จะนำไปสู่การถอนนโยบายผ่อนคลายการเงิน ไม่ว่า BOJ จะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม และนี่จะเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2566 ภายใต้การนำของผู้ว่าการ BOJ คนใหม่” นายอาดาชิกล่าว ขณะที่นายชิเกโตะ นากาอิ อดีตเจ้าหน้าที่ BOJ และหัวหน้าฝ่ายวิจัยของสถาบันออกซ์ฟอร์ด อิโคโนมิกส์กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินสะท้อนให้เห็นว่า BOJ จะยังคงยึดมั่นในการใช้นโยบายกำหนดกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรต่อไป

นักวิเคราะห์เชื่อ BOJ ขยายกรอบบอนด์ยีลด์ปูทางขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า

หลังจากผู้ว่าการ BOJ คนใหม่ขึ้นมารับตำแหน่งแทนนายคุโรดะในเดือนเม.ย.ปีหน้า และดูเหมือนว่า BOJ ได้ตัดสินใจที่จะยอมรับผลกระทบที่ตามมาจากการเริ่มคุมเข้มนโยบายการเงิน

การขยายกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสร้างความตื่นตระหนกให้กับตลาดการเงินทั่วโลกเมื่อวานนี้ โดยเงินเยนพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วเอเชียและดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ร่วงลงเมื่อวานนี้เช่นกัน เนื่องจากนักลทุนมองว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณว่า BOJ จะหันมาใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินตามรอยธนาคารกลางทั่วโลก สำนักข่าวบลูมเบิร์กเปิดเผยข้อมูลระบุว่า นักลงทุนชาวญี่ปุ่นได้เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรในต่างประเทศเป็นวงเงินกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ โดยครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าวเป็นการลงทุนในสหรัฐ ข่าวเศรษฐศาสตร์ ขณะที่ประเทศอื่น ๆ เช่น เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และฝรั่งเศสต่างก็วิตกกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ชาวญี่ปุ่นจะถอนเงินทุนกลับประเทศ “หาก BOJ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็จะส่งผลให้เกิดสึนามิด้านการเงิน โดยเราจะได้เห็นชาวญี่ปุ่นแห่ถอนเงินลงทุนในต่างประเทศกลับไปยังประเทศของตนเอง อาจกล่าวได้ว่า ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ BOJ ทำให้เกิดการรีเซตครั้งใหญ่อย่างแท้จริง” นายอามีร์ อันวาร์ซาเดห์ นักวิเคราะห์จากบริษัทอาซิมเมตริก แอดไวเซอร์สกล่าว