18 เมษายน 2024
สัตว์ 8 ชนิดที่อาจสูญพันธุ์ลงในเวลาอีกไม่นานนี้

การประชุมว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของสหประชาชาติ (UN Biodiversity Conference—COP15) 

สัตว์เลี้ยง จากการประกาศพันธะสัญญาที่สำคัญในการคุ้มครองผืนดิน พื้นที่ชายฝั่งทะเล และแหล่งน้ำจำนวน 1 ใน 3 ของทั้งโลกให้ได้ภายในสิ้นทศวรรษนี้แต่ความพยายามนี้อาจจะสายเกินไปสำหรับสัตว์หลายสายพันธุ์ แม้ว่าสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union of conservation or Nature and Natural Resources–IUCN) หนึ่งในองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมชั้นนำของโลก ได้บรรจุรายชื่อสิ่งมีชีวิตมากกว่า 87,000 สายพันธุ์ ไว้ใน “บัญชีแดง” ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แต่มีสัตว์บางชนิดที่ “มีความเสี่ยงขั้นวิกฤต” ต่อการสูญพันธุ์ และอาจจะมีจำนวนเหลืออยู่ตามธรรมชาติไม่เกิน 20 ตัวเท่านั้น นั่นหมายความว่า พวกมันอาจจะสูญพันธุ์ลงในอีกไม่ช้า หรืออาจจะพบเห็นได้เฉพาะในพื้นที่ที่ถูกเลี้ยงดูไว้เท่านั้น นี่คือสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างมากเหล่านั้น  โลมาวากีตา เคยมีความพยายามในการผสมพันธุ์โลมาวากีตาที่เลี้ยงไว้หลายครั้งก่อนหน้านี้ แต่ล้มเหลว ที่มาของภาพ,OMAR VIDAL/WWF เคยมีความพยายามในการผสมพันธุ์โลมาวากีตาที่เลี้ยงไว้หลายครั้งก่อนหน้านี้ แต่ล้มเหลว นักชีววิทยาชาวเม็กซิโกผู้นี้ กล่าวกับบีบีซีถึงการต่อสู้ยาวนาน 3 ทศวรรษในการอนุรักษ์โลมาวากีตา ซึ่งกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wildlife Fund–WWF) เรียกว่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่หายากที่สุดในโลก พวกมันอาศัยอยู่ในอ่าวแคลิฟอร์เนียของเม็กซิโก และมีอัตราการลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่มีการค้นพบครั้งแรกในปี 1958 คาดว่า ปัจจุบันมีเหลืออยู่เพียง 10 ตัวเท่านั้น ลดลงจากเมื่อ 5 ปีก่อนที่คาดว่า มีอยู่ราว 30 ตัว ดร.โรฮาส-บราโว อธิบายการตายของโลมาวากีตาว่า มีส่วนสัมพันธ์กับการจับปลาเชิงพาณิชย์ เพราะพวกมันตายในตาข่ายจับปลาผิดกฎหมายที่ใช้ในการจับปลาโตโตอาบาของเม็กซิโก ซึ่งมีการนำกระเพาะลมของมันไปทำเป็นยาแผนโบราณของจีน “เรามีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าทางการควบคุมการจับปลาผิดกฎหมายได้ ประชากร (ของโลมาวากีตา) ก็จะสูงขึ้นได้ แต่เวลาไม่ได้อยู่ข้างเรา” เขากล่าว เคยมีความพยายามในการผสมพันธุ์โลมาวากีตาที่เลี้ยงไว้หลายครั้งก่อนหน้านี้ แต่ล้มเหลว ซาวลา หรือ วัวหวูกวาง ซาวลาอาศัยอยู่ในป่าพรมแดนระหว่างเวียดนามและลาว วัวที่มีเขายาวและเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย” ชนิดนี้ ถูกพบครั้งแรกในต้นทศวรรษ 1990 ถือเป็นการพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดใหม่ครั้งแรกในรอบ 50 ปี แต่ปัจจุบันซาวลาหายากอย่างมาก

สัตว์ 8 ชนิดที่อาจสูญพันธุ์ลงในเวลาอีกไม่นานนี้

นับตั้งแต่ตอนนั้น WWF ระบุว่า มีการยืนยันการพบเห็นซาวลาเพียง 4 ครั้งเท่านั้น ทำให้เกิดความกังวลว่า พวกมันอาจจะสูญพันธุ์ในป่าที่อยู่บริเวณพรมแดนเวียดนามและลาว

ซึ่งมีการล่าสัตว์ผิดกฎหมายอย่างมาก”เราไม่อาจมั่นใจว่า ซาวลายังมีอยู่หรือไม่ เพราะครั้งสุดท้ายที่มีการถ่ายภาพ ข่าวสัตว์เลี้ยง ซาวลาไว้ได้คือในปี 2013″ ดร.มาร์กาเร็ต คินแนร์ด จาก WWF กล่าวกับบีบีซี “เราไม่รู้ว่า มีอยู่กี่ตัวที่นั่น และฉันก็ไม่ได้มองโลกในแง่ดีมากเกินไป” องค์กรต่าง ๆ อย่าง IUCN จะระบุว่า สัตว์สายพันธุ์ใดสูญพันธุ์ก็ต่อเมื่อไม่มีข้อสงสัยอย่างมีเหตุผลว่า สัตว์สายพันธุ์นั้นตัวสุดท้ายได้ตายไปแล้วแรดสุมาตราแรดสุมาตราต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อไม่ให้สูญพันธุสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้ เป็นตัวอย่างว่าจำนวนประชากรสัตว์ที่เหลืออยู่ไม่ได้เป็นตัวชี้ว่า สัตว์นั้นเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุดเสมอไป โดยแรดสุมาตราม จำนวนมากกว่าแรดชวา สัตว์อีกสายพันธุ์ที่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์ในอินโดนีเซีย แต่แรดสุมาตรามีความเสี่ยงในการสูญเสียที่อยู่อาศัยและอยู่กันอย่างกระจัดกระจายมากกว่าแรดชวามาก WWF ประเมินว่า มีแรดสุมาตราเหลืออยู่ไม่ถึง 80 ตัว โดยมีการกระจายตัวอยู่แยกกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ดร.คินแนร์ด อธิบายว่า เรื่องนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขยายพันธุ์ของพวกมัน “พวกมันอยู่กันอย่างกระจัดกระจายและหากันไม่เจอ เราพบว่า ตัวเมียจะมีปัญหาที่มดลูกและรังไข่ หากไม่ได้รับการผสมพันธุ์เป็นเวลานาน” เธอกล่าว ค้นพบค่างสายพันธุ์ใหม่ในเมียนมา แต่ “กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์” จากจำนวนประชากรที่เหลืออยู่ราว 200 ตัวดร.คินแนร์ด ยังชี้ด้วยว่า แรดสุมาตรา มีขนยาวปกคลุมตัว และมีความใกล้เคียงกับแรดดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วมากกว่าแรดชนิดอื่น ๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน นกสเตรสแมนน์บริสเติลฟรอนต์ นับตั้งเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ในปี 2015 มีการพบเห็นนกสเตรสแมนน์บริสเติลฟรอนต์แค่ตัวเดียว นกชนิดนี้ เป็นสัตว์พื้นถิ่นของป่าแอตแลนติกในบราซิล หนึ่งในชีวนิเวศที่เสื่อมโทรมและลดน้อยลงในทวีปอเมริกา มีการระบุชื่อนกชนิดนี้ครั้งแรกในปี 1960 จากนกที่ได้รับการรักษาสภาพ หรือถูกสตัฟฟ์ไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในเยอรมนี และมีการพบเห็นนกชนิดนี้ตามธรรมชาติครั้งแรกในปี 1995ในปี 2011 บรรดานักวิจัยชาวบราซิลประเมินว่า มีนกสเตรสแมนน์บริสเติลฟรอนต์หลงเหลืออยู่ตามธรรมชาติราว 10-15 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ในป่าที่รู้จักกันในชื่อว่า ป่านก ในรัฐบาเยียทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลน่าเศร้า เกิดเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ในพื้นที่นี้ในปี 2015 นับจากนั้นมีการพบเห็นนกชนิดนี้เพียงตัวเดียว โดยเป็นนกเพศเมีย”มีการตั้งชื่อเล่นให้มันว่า ‘โฮป’ (Hope แปลว่า ความหวัง) แต่เรายังไม่พบเห็นมันอีกเลยตั้งแต่ปี 2019″ อเล็กซานเดอร์ เซดาน นักชีววิทยา ซึ่งศึกษานกสเตรสแมนน์บริสเติลฟรอนต์ อธิบาย”มีการเดินทางไปสำรวจในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อหานกชนิดนี้ตัวอื่น ๆ แต่เราก็ยังไม่พบเจอ”

แนะนำข่าวสัตว์เลี้ยง อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : รณรงค์ไม่บริโภค “ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า” หยุดเครื่องรางของขลัง